วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เอกสารอ้างอิง

  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์ ๖. โรงพิมพ์ สกสข. ลาดพร้าว 2554.  
  ชนนิกานต์  สมานทรัพย์  วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ๖. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://kroowanss.blogspot.com/.  (วันที่ค้นข้อมูล : 1 กรกฏาคม 2558).

   ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์.  "ดาราศาสตร์." [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.lesa.biz/.   (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547). 

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จักราศี ต่างๆ













กลุ่มดาวจักราศี (Zodiac)

     การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน การโคจรของโลก รอบดวงอาทิตย์ ทำให้เวลาและฤดูกาลผ่านไป ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จากทิศตะวันตกไปทาง ทิศตะวันออกนั้น เมื่อเราสังเกตดูการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ เราจะเห็น ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามกลุ่มดาวกลุ่มต่าง ๆ กลางท้องฟ้า เส้นทางที่ ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรไปบนท้องฟ้าผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ ในรอบปีหนึ่งนั้น เรียกว่า เส้นอี่คลิพติค (Ecliptic) เส้นนี้พาดจากขอบฟ้าทิศตะวันออก ผ่านกลาง ฟ้าเหนือ ศีรษะไป ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก บรรดาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงนพเคราะห์ ต่างก็เคลื่อนที่ในแนวแถบเส้น Ecliptic นี้ทั้งสิ้น
     กลุ่มดาว 12 ราศี คือกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่มที่ปรากฏอยู่ตามแนวเส้น Ecliptic โดยแบ่งแถบเส้น Ecliptic ซึ่งเป็นแถบกว้าง 16 องศารอบท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนกว้าง 30 องศา ทุกราศีมีดาวฤกษ์ประจำอยู่ 1 กลุ่ม จึงเรียกกลุ่มดาว 12 ราศี เวลาดูในท้องฟ้า จะเห็นกลุ่มดาว 12 ราศีเรียงตามลำดับ จาก ทิศตะวันตก ไปทิศตะวันออก กลุ่มดาว 12 ราศีนี้ เป็นจักรวงกลมของสัตว์ เพราะว่า 11 กลุ่ม เป็นกลุ่มดาวที่ แทนสัตว์จริง หรือสัตว์สมมุติ มีกลุ่มดาวที่ไม่ใช้สัตว์ คือกลุ่มดาวราศีตุลย์หรือ กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra) อันหมายถึงตราชูแห่งความเที่ยงธรรม








ดาวต่างๆในระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์ (Sun)




















ดาวพุธ (Mercury)





















ดาวศุกร์ (Venus)





















โลก (Earth)





















ดาวพฤหัส (Jupiter)





















ดาวอังคาร (Mars)




















ดาวเสาร์ (Saturn)

















ดาวยูเรนัส (Uranus)





















ดาวเนปจูน (Neptune)



























ระบบสุริยะ (solar system)

              ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์  8 ดวงกับดวงจันทร์บริวาร ที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ  5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย  วัตถุในแถบไคเปอร์  ดาวหาง  สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
              โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส  (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะ สิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต
              ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน
              ระบบสุริยะสามารถแบ่งออกเป็นย่านต่างๆ ได้แบบไม่เป็นทางการ ระบบสุริยะส่วนในประกอบด้วยดาวเคราะห์ 4 ดวงกับแถบดาวเคราะห์น้อย  ระบบสุริยะส่วนนอกคือส่วนที่อยู่พ้นแถบดาวเคราะห์น้อยออกไป ประกอบด้วยดาวแก๊สยักษ์ 4 ดวง ต่อมาเมื่อมีการค้นพบแถบไคเปอร์  จึงจัดเป็นย่านไกลที่สุดของระบบสุริยะ เรียกรวมๆ ว่าเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูน







ข้อมูลพื้นฐานของดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์


ข้างขึ้น-ข้างแรม

   
 เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงจันทร์ดคจรรอบโลก แล้วทำให้ผู้สังเกตบนโลก เห็นดวงจันทร์ซึ่งเกิดจากการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ข้างขึ้นอยู่ระหว่างคืนเดือนมืดจนถึงคืนเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรมอยู่ระหว่างคืนเดือนเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืด ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ ไปจนถึง วันแรม 1 ค่ำ
     วันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) ดวงจันทร์จะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ (โลกอยู่ตรงกลาง) ดวงจันทร์หันด้านที่รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก ทำให้เราเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในเวลากลางคืน ส่วนผู้สังเกตด้านกลางวันจะไม่เห็นดวงจันทร์เลย (มีโอกาสเกิดจันทรุปราคาได้)
     คืนเดือนมืด (วันแรม 15 ต่ำ) ดวงจันทร์จะอยู่หน้าดวงอาทิตย์ (โลกอยู่ข้างหลัง) ดวงจันทร์หันด้านที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก (หันด้านมืดให้) ทำให้เราไม่เห็นดวงจันทร์เลย (มีโอกาสเกิดเกิดสุริยุปราคาได้)
     วันขึ้น 8 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำ ดวงจันทร์โคจรอยู่ในตำแหน่งทำมุมฉากกับโลกและดวงอาทิตย์ ทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นด้านสว่างและด้านมืดของดวงจันทร์มีขนาดเท่ากัน



ในการโคจรแบบนี้ทำให้เราสามารถเห็นดวงจันทร์ได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น

ดวงจันทร์ (Lunar)

     ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลก  จัดเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ลำดับที่ 5 ในระบบสุริยะ  มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วม ของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วัน[nb 1] เมื่อเปรียบเทียบการแปรคาบโคจรตามมาตรภูมิศาสตร์ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์ ซึ่งจะซ้ำรอบทุกๆ ช่วง 29.5 วัน[nb 2]  (เรียกว่า คาบไซโนดิก)
     เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์มีค่าประมาณ 3,474 กิโลเมตรหรือประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ดังนั้นพื้นผิวของดวงจันทร์มีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของพื้นผิวของโลก (ประมาณ 1 ใน 4 ของผืนทวีปของโลกเท่านั้น คิดเป็นขนาดใหญ่ประมาณรัสเซีย แคนาดา กับสหรัฐอเมริกา รวมกัน) มวลรวมของดวงจันทร์คิดเป็นประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก
     ดวงจันทร์ใช้เวลาในการโคจรรอบตัวเองเท่ากับเวลาในการโคจรรอบโลก (ประมาณ 27.25วัน) ซึ่งเป็นธรรมดาของวัตถุที่โคจรรอบกันจะพยายามทำแบบนี้ เช่น ดาวพุธที่ใช้เวลาในการโคจรรอบตัวเองเท่ากับเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ และถ้าเวลาผ่านไปเรื่อยๆ โลกก็จะพยายามโคจรเป็นแบบนี้กับดวงอาทิตย์
     เราจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นช้าลงวันละ 50นาที โดยการสังเกตข้างขึ้นข้างแรมจะพบว่า วันแรม 15 ค่ำ ดวงจันทร์จะขึ้น และตกพร้อมดวงอาทิตย์